รวันดา 1

รวันดา ในปี 1994 ภายในช่วงเวลาแค่ 100 วัน กลุ่มหัวรุนแรงเชื้อสายฮูตูได้สังหารผู้คนไปราว 8 แสนคน มุ่งเป้าไปที่ชาวทุตซี ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรวันดา รวมถึงศัตรูทางการเมืองโดยไม่สนใจว่าคนเหล่านั้นจะมีชาติพันธุ์อะไร

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน รวันดา เริ่มต้นได้อย่างไร

85 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในรวันดาเป็นชาวฮูตู แต่เป็นชาวทุตซี ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่เป็นชนชั้นนำปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ในปี 1959 ชาวฮูตูล้มล้างระบอบกษัตริย์ของชาวทุตซี ทำให้ชาวทุตซีหลายหมื่นคนต้องอพยพลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ยูกันดา

ต่อมา ผู้ลี้ภัยชาวทุตซีรวมตัวกันเป็นกลุ่มติดอาวุธชื่อ กลุ่มแนวร่วมผู้รักชาติรวันดา หรือ อาร์พีเอฟ โดยบุกเข้าสู้รบในรวันดาในปี 1990 ต่อเนื่องจนมีการบรรลุข้อตกลงสันติภาพในปี 1993

อย่างไรก็ตาม คืนวันที่ 6 เม.ย. ปี 1994 เครื่องบินที่มี จูเวนัล ฮับยาริมานา ประธานาธิบดีรวันดา และไซเปรียน ทายามิรา ประธานาธิบดีของบุรุนดี โดยสารอยู่ถูกยิงตกทำให้ผู้โดยสารทั้งหมดเสียชีวิต

ประธานาธิบดีทั้งสองคนต่างก็เป็นชาวฮูตู และกลุ่มหัวรุนแรงชาวฮูตูก็กล่าวหาว่ากลุ่มอาร์พีเอฟ อยู่เบื้องหลังเหตุดังกล่าว และเริ่มขบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฝ่ายอาร์พีเอฟบอกว่าชาวฮูตูเป็นฝ่ายยิงเองและใช้เหตุการณ์นี้เป็นข้ออ้างในการเริ่มโจมตี

กลุ่มติดอาวุธใน รวันดา ดำเนินการอย่างไร

มีการวางแผนจัดการอย่างละเอียดรอบคอบ ศัตรูรัฐบาลถูกจับตัวส่งกลุ่มติดอาวุธ และถูกสังหารพร้อมกับครอบครัวของพวกเขา

เพื่อนบ้านฆ่าฟันกันเอง และสามีบางคนถึงขั้นสังหารภรรยาตัวเอง โดยบอกว่าพวกเขาจะถูกฆ่าเองหากไม่ให้ความร่วมมือ

ในตอนนั้น มีการระบุชาติพันธุ์บนบัตรประชาชน กลุ่มติดอาวุธก็ใช้วิธีตั้งด่านตรวจตามท้องถนนและชาวทุตซีก็ถูกสังหารบริเวณนั้น บ่อยครั้งเป็นการใช้มีดขนาดใหญ่ (machete) ที่ชาวรวันดาส่วนใหญ่มีไว้ในครอบครอง

ผู้หญิงชาวทุตซีหลายพันคนถูกจับตัวไปเป็นทาสเพื่อสนองความต้องการทางเพศ

รวันดา 2

ทำไมโหดร้ายถึงเพียงนี้

สังคมรวันดาเป็นสังคมที่ถูกควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นขั้นเป็นตอนจากระดับท้องถิ่นจนถึงระดับรัฐบาล พรรคปฏิวัติชาติเพื่อการพัฒนา หรือ MRND ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนั้นมีฝักฝ่ายของกลุ่มคนวัยหนุ่มที่ชื่อ Interahamwe ซึ่งกลายไปกลุ่มติดอาวุธและทำหน้าที่เป็นผู้สังหารในเวลาต่อมา

มีการขนส่งอาวุธและรายชื่อกลุ่มเป้าหมายไปยังมือสังหารในท้องที่ซึ่งรู้ว่าเหยื่อแต่ละคนอยู่ที่ไหน

กลุ่มหัวรุนแรงฮูตูก่อตั้งสถานีวิทยุ RTLM และหนังสือพิมพ์เพื่อใช้กระจายข่าวโฆษณาชวนเชื่อ เชื้อเชิญให้คน “ถอนรากถอนโคนแมลงสาบ” ซึ่งหมายถึงชาวทุตซี มีการอ่านรายชื่อเป้าหมายสำคัญ ๆ ออกอากาศ

แม้แต่บาทหลวงและแม่ชีก็ถูกตัดสินโทษฐานฆาตกรรมด้วย เหยื่อบางคนเป็นคนที่เข้ามาขอที่พักพิงในโบสถ์

จบช่วงเวลา 100 วัน ชาวทุตซีและชาวฮูตูที่ไม่ใช่พวกหัวรุนแรง รวม 8 แสนคน ถูกสังหาร

มีใครพยายามจะหยุดยั้งเหตุการณ์ใน รวันดา ไหม

สหประชาชาติและเบลเยียมมีกองกำลังอยู่ในรวันดา แต่สหประชาชาติไม่ได้รับคำสั่งให้หยุดยั้งการฆ่าล้างในครั้งนี้ได้

นั่นเป็นช่วงหนึ่งปีหลังจากทหารสหรัฐฯ ถูกสังหารในโซมาเลีย พวกเขาตั้งใจจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งในแอฟริกาอีก เบลเยียมและกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาติถอนตัวหลังจากทหารเบลเยียม 10 คนถูกสังหาร

ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลฮูตูในตอนนั้น ส่งกองกำลังพิเศษเพื่อไปช่วยเหลืออพยพคนชาติตัวเองและจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยในเวลาต่อมา พวกเขาถูกกล่าวหาว่าไม่พยายามอย่างเพียงพอที่จะหยุดยั้งการสังหาร

พอล คากาเม ประธานาธิบดีรวันดาคนปัจจุบัน กล่าวหาฝรั่งเศสว่าให้การสนับสนุนกลุ่มผู้สังหาร แต่ทางการฝรั่งเศสปฏิเสธ

จบอย่างไร

กลุ่มอาร์พีเอฟ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพรวันดา ค่อยๆ ยึดพื้นที่คืนจนกระทั่งเดินทัพเข้าสู่กรุงคิกาลี เมืองหลวงของประเทศ

ชาวฮูตูราว 2 ล้านคน ทั้งที่เป็นพลเรือนและพวกที่ลงมือในการสังหารหมู่ อพยพหนีไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ขณะนั้นมีชื่อว่า แซร์) ด้วยความหวาดกลัวถูกแก้แค้น บางส่วนอพยพหนีไปทานซาเนียและบุรุนดี

กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า กองกำลังอาร์พีเอฟสังหารพลเรือนชาวฮูตูหลายพันคนขณะยึดอำนาจคืน และมากกว่านั้นอีกขณะตามล่ากลุ่ม Interahamwe ในคองโก อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาร์พีเอฟให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

ที่คองโก คนหลายพันเสียชีวิตจากอหิวาตกโรค กลุ่มช่วยเหลือหลายกลุ่มถูกกล่าวหาว่าให้การช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธฮูตูมากเกินไป


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค. มาร่วมณรงค์กับ สคร.12 สงขลา
ผลโหวต กสทช. ไม่เอกฉันท์ อนุมัติควบทรู-ดีแทค
รองนายกฯ ไทยชี้ ไทยหวังส่งออกสินค้าสู่จีนมากขึ้น
สาเหตุและวิธีป้องกันจาก โรคผิวหนัง
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://shah-ltd.com/

สนับสนุนโดย  ufabet369

ที่มา www.bbc.com